เมนู

บุคคลใดย่อมรู้อรรถ ที่ท่านอธิบายทำให้พิศดารนั่นแหละ เพราะเหตุ
นั้นบุคคลนั้นจึงชื่อว่า วิปัญจิตัญญู แปลว่า ผู้รู้อรรถอันท่านอธิบายแล้ว
สองบทว่า "อยํ วุจิจติ" ความว่า บุคคลนี้ คือ ผู้มีความสามารถ
เพื่อบรรลุพระอรหัต ในเมื่อมีผู้อื่นตั้งบทมาติกาไว้โดยย่อแล้วจำแนกเนื้อ
ความโดยพิศดาร ท่านจึงเรียกว่า วิปัญจิตตัญญู.

วิเคราะห์ศัพท์ เนยยบุคคล


อุทฺเทสาทีหิ เนตพฺโพติ เนยฺโย

บุคคลใด อันผู้อื่นพึงแนะนำ
ด้วยบททั้งหลายมีอุเทศเป็นต้น เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้นจึงชื่อว่า เนยฺโย
ผู้อันบุคคลพึงแนะนำไป.
สองบทว่า "อนุปุพฺเพน ธมฺมาภิสมโย" ได้แก่ การบรรลุพระ-
อรหัตตามลำดับ.

วิเคราะห์ศัพท์ ปทปรมบุคคล


พฺยญฺชนปทเมว ปรมํ อสฺสาติ ปทปรโม

บทแห่งพยัญชนะนั่น
เทียว เป็นอย่างยิ่งของบุคคลนั้นมีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้นชื่อว่า ปท-
ปรโม
ผู้มีบทอย่างยิ่ง.
ข้อว่า "น ตาย ชาติยา ธมฺมาภิสมโย โหติ" อธิบายว่า ปทปรม-
บุคคลนั้น ไม่สามารถเพื่อจะทำฌาน วิปัสสนา มรรค ผล ให้เกิดขึ้นได้ด้วย
อัตภาพนั้น.

[109] 1. บุคคลผู้โต้ตอบถูกต้องแต่ไม่ว่องไว เป็นไฉน ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกเขาถามปัญหา ย่อมแก้ได้ถูกต้องแต่ไม่
ว่องไว บุคคลนี้เรียกว่า ผู้โต้ตอบถูกต้องแต่ไม่ว่องไว
2. บุคคลผู้โต้ตอบว่องไวแต่ไม่ถูกต้อง เป็นไฉน ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกเขาถามปัญหาย่อมแก้ได้ว่องไว แต่แก้ไม่
ถูกต้อง บุคคลนี้เรียกว่า ผู้โต้ตอบว่องไวแต่ไม่ถูกต้อง
3. บุคคลผู้โต้ตอบถูกต้องและว่องไว เป็นไฉน ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกเขาถามปัญหา ย่อมแก้ได้ถูกต้องและแก้
ได้ว่องไว บุคคลนี้เรียกว่า ผู้โต้ตอบถูกต้องและว่องไว.
4. บุคคลผู้โต้ตอบไม่ถูกต้องและไม่ว่องไว เป็นไฉน ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกเขาถามปัญหา ย่อมแก้ไม่ถูกต้องและไม่
ว่องไว บุคคลนี้เรียกว่า ผู้โต้ตอบไม่ถูกต้องและไม่ว่องไว.

อรรถกถาบุคคลผู้โต้ตอบถูกต้องแต่ไม่ว่องไว เป็นต้น


ญาณ คือปัญญาก็ดี ถ้อยคำที่ตั้งขึ้นเพราะญาณก็ดี เรียกว่า ปฏิภาณ
คือ ความเฉียบแหลมในการโต้ตอบ. ปฏิภาณนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระ
ประสงค์เอาในคำว่า ยุตฺตปฏิภาโณ นี้.
ปฏิภาณ อันสมควรแก่เหตุและสมควรแก่ผล ของบุคคลนั้นมีอยู่
เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้นชื่อว่า ยุตฺตปฏิภาโณ ผู้มีปฏิภาณอันถูกต้อง.
ปฏิภาณอันไม่ว่องไวของบุคคลนั้นมีอยู่ เพราะความที่ตนเป็นผู้ไม่สามารถเพื่อ